1. ชื่อห้องสมุดประชาชน “ เฉลิมราชกุมารี ” อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
2. สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 3 ตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
โทรศัพท์ 0 -3563-1202 โทรสาร 0-3563-2450
3. ลักษณะอาคาร : เอกเทศ
4. ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่ วันที่ 25 มีนาคม 2536 ถึงปัจจุบัน รวม 17 ปี
5. จำนวนสมาชิกห้องสมุด 697 คน ( นับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2550 ถึงปัจจุบัน )
6. ผู้ใช้บริการเฉลี่ยต่อวัน 80-90 คน ( โดยประมาณ )
7. จำนวนสื่อสิ่งพิมพ์ 26,374 เล่ม8. จำนวนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 1,123 รายการ
9. จำนวนผู้ปฏิบัติงาน 3 คน ( บรรณารักษ์ 1 คน อัตราจ้าง 1 คน นักการภารโรง 1 คน )
10. คณะกรรมการห้องสมุด 32 คน
11. รางวัลหรือการเชิดชูเกียรติที่เคยได้รับจากหน่วยงาน
ปี 2540 , 2542 ได้รับรางวัลห้องสมุดประชาชน “ เฉลิมราชกุมารี ” ดีเด่น
จากกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ปี 2547 , 2548 ,2549 ได้รับรางวัลสถานที่ทำงานน่าอยู่ สะอาด ปลอดภัย
สิ่งแวดล้อมดี มีชีวิตชีวา ระดับทอง
ปี 2548 ได้รับรางวัลสุขาสะอาดน่าใช้ ระดับดี จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ปี 2549 ได้สมัครเข้าร่วมโครงการประกวดห้องสมุดมีชีวิต และได้ผ่านเข้ารอบ 30 แห่ง สุดท้าย ในโครงการประกวดและส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ด้านการอ่าน TK park Living
Library Award จากTK park อุทยานการเรียนรู้
การบริหารจัดการ
1) การพัฒนาอาคารสถานที่ มีการดำเนินการ ดังนี้1.1 จัดทำโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ห้องสมุด โดยมีการวางแผนพัฒนาปรับปรุงห้องสมุดทั้งภายในและภายนอก เช่น
-ปรุงปรุงมุมต่าง ๆในห้องเฉลิมพระเกียรติ ห้องเอนกประสงค์ และมุมเด็ก / ครอบครัว
-จัดทำสวนหย่อม สวนสมุนไพร2) ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจอย่างทั่วถึงต่อเนื่องและสม่ำเสมอ มีการดำเนินการ ดังนี้
- จัดทำแผนประชาสัมพันธ์กิจกรรมของห้องสมุด ด้วยสื่อที่หลากหลายอย่างทั่วถึงทุกครั้งที่จัดกิจกรรม3) การระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาห้องสมุดประชาชน มีการดำเนินการ ดังนี้
- มีการวางแผนใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาห้องสมุดที่เหมาะสม คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด- มีการระดมทุนทางสังคม และเครือข่ายมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาห้องสมุด
4) การบริหารงานทรัพยากรและการใช้งบประมาณที่เหมาะสมและคุ้มค่าในการดำเนินกิจกรรม มีการดำเนินการ ดังนี้
- มีการวางมาตรการประหยัดพลังงาน ด้านสาธารณูปโภคของห้องสมุดให้ลดลง ร้อยละ 5
5) การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรเพื่อความก้าวหน้าและสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป มีการดำเนินการ ดังนี้- บุคลากรของห้องสมุดได้เข้ารับการอบรมพัฒนาศักยภาพและ ศึกษาดูงานอยู่เป็นเนือง ๆ
การพัฒนาห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต1) การจัดความรู้ให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงโดยสะดวก มีการดำเนินการ ดังนี้
- จัดให้มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการให้บริการ
-จัดให้มีสื่อที่หลากหลายมาให้บริการ
- จัดบริการเชิงรุกไปยังชุมชนที่ห่างไกลให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงสื่อความรู้ต่างๆเป็นประจำ ทุกเดือน
2) การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเผยแพร่ความรู้ที่มีอยู่ในห้องสมุดสู่ชุมชนและ
ห้องสมุดอื่น-จัดบริการแลกเปลี่ยนสื่อความรู้กับเครือข่าย เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดโรงพยาบาล ศรช.
3) การสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงพัฒนาห้องสมุดประชาชน
- มีการจัดประชุมคณะกรรมการห้องสมุดเพื่อให้เสนอแนวทางในการพัฒนาห้องสมุดเป็นประจำ- มีการจัดทำบุญครบรอบพิธีเปิดห้องสมุด ในวันที่ 25 มีนาคม ของทุกปี เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาห้องสมุด
4) ประสานความร่วมมือกับห้องสมุด / แหล่งเรียนรู้อื่น
- ได้ดำเนินการรวบรวมแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
-จัดทำแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและต่อเนื่องสม่ำเสมอ เช่น
1.จัดค่ายรักการอ่านภาคฤดูร้อน
2.จัดกิจกรรมฐานเรียนรู้สู้ห้องเรียนมีชีวิต3.จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ คู่การอ่านเนื่องใน “ วันเด็กแห่งชาติ ” ประจำปี 2550
4.จัดส่งเสริมการเรียนรู้สู่เครือข่าย “ สร้างอาชีพเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน ”5.จัดค่ายคุณธรรม นำความรู้ เพื่อส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้สู่สังคมสันติสุข ”
6) การพัฒนาระบบให้บริการ
การปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
1) การสำรวจข้อมูลผู้ใช้บริการความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
2)การจัดระบบฐานข้อมูล
3)การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานทุกด้านอย่างต่อเนื่อง
4)การนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงการจัดกิจกรรมและนำเสนอเนื้อหา
แผนที่ห้องสมุด